บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่ 1 การอ่าน และสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สาระการเรียนรู้เรื่องการอ่านออกเสียงและบอกความหมายคำและการสะกดคำ การแจกลูกคำและการอ่านเป็นคำ ทฤษฎีการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิดของแฮร์บาร์ต ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยกระบวนการค้นพบของบรุนเนอร์ ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอซูเบล และทฤษฎีการเรียนรู้แบบกลุ่มผสมผสานของกาเย่ แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา ของ Collins, A.,Brown, J.S., & Holum,A. (1991) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำการศึกษาความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จำนวน 2 คน และประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 3 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )